หากคุณเป็นอีกคนหนึ่งที่อยู่ในวงการ Cryptocurrency แล้วล่ะก็ คุณคงจะรู้จักคำว่า “DeFi” กันเป็นอย่างดี เพราะ Defi เริ่มที่จะมีบทบาทและถูกกล่าวถึงเพิ่มมากขึ้นทุกๆ วัน แต่! สำหรับใครที่ยังไม่รู้ว่า DeFi มันคืออะไร ก็ไม่ต้องเป็นกังวลใจไป เพราะในบทความนี้เราได้รวบรวมรายละเอียดและความหมายของ Defi มาฝาก โดยเราต้องขอบอกเลยว่าถ้าคุณได้อ่านบทความนี้จบ คุณจะรู้จักและเข้าใจคำว่า Defi ดีขึ้นจากเดิมอยากแน่นอน ดังนั้นอันดับแรกเราไปรู้จักกับความหมายของ DeFi กันเลย!
ความหมายที่แท้จริงของ DeFi
Defi คือระบบการเงินแบบไร้ศูนย์กลาง (Decentralized Finance) หรือเรียกง่ายๆ เลยก็คือ “ระบบการเงินที่ไม่ใช้ตัวกลางอย่างธนาคารหรือสถาบันทางการเงินในการทำธุรกรรม” ซึ่ง DeFi นั้น ได้เปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีระดับโลกอย่างบล็อกเชน มาใช้รองรับสกุลเงินแบบ Cryptocurrency โดย DeFi จะถูกสร้างบนระบบนิเวศน์ของ Ethereum ถึงแม้จะไม่มีตัวกลางมาคอยควบคุม แต่! ทุกธุรกรรมจะต้องดำเนินการผ่าน Smart Contract หรือสัญญาซื้อขายเงินดิจิทัล ซึ่งแน่นอนว่าเหรียญที่ใช้กันภายใต้ Smart Contract ก็คือ Cryptocurrency ดังนั้นผู้ที่ต้องการทำธุรกรรม DeFi จำเป็นต้องมีกระเป๋าเงิน Crypto ก่อนเป็นอันดับแรก
จุดกำเนิดของ DeFi
DeFi ได้ถือกำเนิดขึ้นมาจาก “ความต้องการ” ความรวดเร็วในการทำธุรกรรมทางการเงิน! ไม่ต้องผ่านตัวกลาง! และมีค่าธรรมเนียมที่ต่ำ! ซึ่งหากเป็นระบบการเงินแบบดั้งเดิม (Centralized Finance — CeFi) นั้น ผู้ใช้งานจะต้องดำเนินการผ่านตัวกลาง (ธนาคารหรือสถาบันการเงิน) ในการตรวจสอบรายการธุรกรรมนั้นๆ อีกทั้งยังมีค่าธรรมเนียมที่สูงและกินเวลานานมากพอสมควร! ซึ่งแน่นอนว่า DeFi ได้ถูกออกแบบมาให้แก้ปัญหาของระบบการเงินแบบ CeFi โดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นการรับ-ส่งรายการธุรกรรมการเงินที่รวดเร็วผ่านทางบล็อกเชน ค่าธรรมเนียมที่แสนถูก เป็นต้น
ตัวอย่างรูปแบบของ DeFi ที่ได้รับความนิยม
เราบอกได้เลย DeFi มีรูปแบบการใช้งานที่หลากหลายเป็นอย่างมากหรือสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน โดยเราได้หยิบยกตัวอย่างรูปแบบ DeFi ที่ได้รับความนิยมมาฝาก อาทิ
1.Lending platforms
Lending platforms คือ แพลตฟอร์มที่ผู้ใช้สามารถเข้ามาฝากเหรียญหรือกู้ยืมเหรียญดิจิทัลต่างๆ ได้! โดยใช้สินทรัพย์ดิจิทัลมาค้ำประกันและมี Smart contract ในการจัดการการกู้ยืมโดยอัตโนมัติ เรียกได้ว่าถูกตาถูกใจเหล่านักลงทุนกันแบบสุดๆ
2.Decentralized Exchanges (DEXs)
Decentralized Exchanges (DEXs) คือแพลตฟอร์มสำหรบการแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลต่างๆ ที่เชื่อมต่อผู้ใช้กับผู้ใช้โดยตรง (Peer-to-Peer) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนกันได้โดยไม่ต้องพึ่งพาตัวกลางอย่างธนาคารหรือสถาบันการเงิน
3.Wrapped Bitcoins (WBTC)
Wrapped Bitcoins (WBTC) เป็นวิธีการส่ง Bitcoin ไปยังเครือข่ายของ Ethereum เพื่อให้สามารถใช้ Bitcoin บน DeFi ของ Ethereum ได้ อีกทั้งทาง Wrapped Bitcoin ได้บอกว่า Wrapped Bitcoin นี้ เป็นเหรียญที่มีการผูกมูลค่ากับ Bitcoin ในอัตรา 1:1 เหรียญแรกของโลกอีกด้วย
4.Stablecoins
Stablecoins คือสกุลเงินดิจิทัลที่ผูกมูลค่าไว้กับสินทรัพย์อื่น อาทิ เงินสกุล Dollar หรือ Euro เพื่อรักษามูลค่าของเหรียญให้คงที่
5.Yield farming
Yield farming เป็นรูปแบบการทำกำไรอย่างหนึ่งที่ค่อนข้างคล้ายการ Staking แต่! มันcตกต่างกันตรงที่…เงินที่คุณเอาไปฝากนั้น จะถูกนำไปใช้ในระบบจริงๆ และมันจะกลายเป็น “สภาพคล่อง” ให้แก่ระบบๆ นั้นไปโดยปริยาย อีกทั้งคุณยังจะได้ผลตอบแทนจากระบบในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเหรียญหรือค่าธรรมเนียมที่อาจจะมาจากการใช้งานจริง ๆ
6.Prediction markets
Prediction market หรือตลาดเพื่อการพยากรณ์ เป็นกระบวนการสร้าง ‘ตลาด’ เพื่อการพยากรณ์เหตุการณ์ในอนาคตที่เราสนใจว่าจะเกิดขึ้น โดยใช้กลุ่มคนหรือผู้เข้าร่วมตลาดที่สนใจในเรื่องนั้นๆ มาประเมินความน่าจะเป็นของตลาดจำลอง อาทิ การทำนายผลการแข่งขันฟุตบอล เป็นต้น
ข้อดีที่ปฏิเสธไม่ได้ของ DeFi
1.DeFi มีความอิสระและความยืดหยุ่นในการทำธุรกรรมเป็นอย่างมาก! เพราะสิ่งที่ DeFi โฟกัสมากที่สุดคือจำนวนเหรียญในกระเป๋า ไม่ใช่เครดิตทางการเงิน ทำให้ผู้ใช้งานสามารถกู้ยืมเงินได้อย่างสะดวก
2.ช่วยให้คุณประหยัดเวลามากยิ่งขึ้น! เนื่องจากระบบ DeFi นั้นจะตั้งอยู่บนบล็อกเชน ที่เปิดเผยข้อมูลการทำธุรกรรมอย่างโปร่งใส ทำให้ใช้เวลาในการตรวจสอบน้อยกว่าการทำธุรกรรมที่มีตัวกลางอย่างการฝากถอนในธนาคาร
3.DeFi เป็นการจัดการทางการเงินแบบไร้ศูนย์กลาง ส่งผลให้ทุกคนสามารถรับรู้ข้อมูลทางธุรกรรมต่างๆ ได้ อีกทั้งยังมีความโปร่งใส่มากกว่าการเงินในรูปแบบเก่าๆ เพราะไม่ว่าใครก็สามารถเข้าตรวจสอบผ่าน Smart Contract ได้ทุกเวลา
ข้อด้อยของ DeFi ที่คุณต้องรู้!
1.เทคโนโลยีเกี่ยวกับ DeFi ยังมีความใหม่มาก! ต้องใช้เวลาในการศึกษาและทำความเข้าใจ ซึ่งอาจจะไม่เหมาะกับนักลงทุนมือใหม่เท่าไหร่นัก
2.ความผันผวนในตลาดสูง! โดยความผันผวนของ DeFi นั้น จะสอดคล้องกับมูลค่าของ Cryptocurrency นั่นเอง
3.แม้ว่าการทำธุรกรรมในระบบ DeFi จะมีความปลอดภัย แต่! ก็ไม่เสมอไป เพราะเพราะมีผู้ให้บริการ DeFi จำนวนไม่น้อยที่เปิดให้บริการแบบไม่น่าเชื่อถือ ไม่มีการตรวจสอบ ซึ่งนั่นอาจจะทำให้ผู้ใช้งานโดนหลอกเอาได้!
รายละเอียดเกี่ยวกับ DeFi ที่เราได้กล่าวไปนั้น คงจะสามารถช่วยทำให้คุณเข้าใจและรู้จักกับ DeFi มากยิ่งขึ้น อีกทั้งผู้ที่กำลังสนใจและต้องการที่จะลงทุนกับ DeFi ก็อย่าลืมที่จะตรวจเช็คความผันผวนของตลาดให้ดี เพราะแม้ว่าอัตราการเติบโตของ DeFi จะพุ่งสูงขึ้น แต่! อย่าลืมว่าทุกๆ การลงทุนย่อมมีความเสี่ยงแอบซ่อนอยู่เสมอ!